9/29/2558

6 ปัญหาคอมพิวเตอร์ที่พบบ่อยจากการใช้งาน ซ่อมเองได้ไม่ง้อช่าง

|0 ความคิดเห็น

6 ปัญหา ที่มักพบได้บ่อยครั้งจากการใช้งานคอมพิวเตอร์ที่เราก็ซ่อมเองได้ไม่ง้อช่าง


อาการแบบนี้ แก้ไขอย่างไร... คำตอบอยู่ที่นี่

1.คอมพิวเตอร์มีเสียงร้อง
ตอนเปิดเครื่องจะมีเสียง ตี๊ดดด แสดงสถานะการทำงานว่าปกติหรือไม่ ถ้าฮาร์ดแวร์มีปัญหา เสียงดังกล่าวจะเปลี่ยนไปตามอาการต่างๆ

2.เข้า Windows ไม่ได้
บางทีโปรแกรมที่ลงอาจเกิดเสียหาย ใช้งานไม่ได้ และบางครั้งอาจลามไปจนทำให้เข้า Windows ไม่ได้ ซึ่งวิธีแก้ไขก็คือ การเข้า Safe Mode เพื่อเข้าไปถอนการติดตั้งโปรแกรมนั้นๆ

3.อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ทำงาน
เมื่อคอมพิวเตอร์เกิดทำงานผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นเสียงหาย ภาพแสดงผลไม่ชัด อุปกรณ์ต่างๆ ทำงานไม่ปกติ ให้ลองหา Drivers ของอุปกรณ์นั้นๆ มาติดตั้ง จะทำให้อุปกรณ์เหล่านั้นใช้งานได้ปกติ ซึ่งปกติอุปกรณ์ที่ซื้อมาจะมีแผ่น CD Drivers แถมมาให้อยู่แล้ว

4.ต้องตั้งเวลาใหม่ ทุกครั้งที่เปิดเครื่อง
บางครั้งเปิด Windows ขึ้นมา จะเห็นเวลาเริ่มที่ 0.00 ทุกครั้ง ทำให้เราต้องตั้งเวลาใหม่ทุกครั้ง ซึ่งนี่คืออาการถ่าน Bios ในเมนบอร์ดหมด แค่เปลี่ยนถ่าน Bios ก็จะแก้ไขปัญหานี้ได้

5.เปิดเครื่องไม่ติด
ถ้าเปิดคอมฯ แล้วมีปัญหาทำงานไม่ปกติ เสียง Bios มีการแจ้งเตือนแปลกๆ ไม่ต้องตกใจไป บางครั้งฝุ่นอาจทำให้ช่องสลอตต่างๆ ของฮาร์ดแวร์หลวม ลองถอดอุปกรณ์ต่างๆ ในเคสมาลองทำความสะอาดซิปและช่องสลอตดู

6.โปรแกรมค้าง ปิดไม่ได้
เมื่อใช้งานโปรแกรมอยู่ แล้วเกิดปัญหาโปรแกรมค้าง ทำอะไรไม่ได้แม้แต่จะปิดโปรแกรม เราสามารถสั่งปิดโปรแกรมได้เอง ด้วยการกด Ctrl+Alt+Del และเลือก End Task เพื่อปิดโปรแกรมที่ค้างได้ทันที

ทั้ง 6 วิธีนี้เป็นปัญหาที่เรามักพบเจอบ่อย ๆ ในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งวิธีการแก้ไขเบื้องต้นก็ไม่ได้ยากเย็นแต่อย่างใด ซึ่งเราก็สามารถหาสาเหตุและแก้ไขได้เอง ไม่ต้องให้ถึงมือช่างครับ


ป้องกันตัวเองก่อนถูกไวรัสคอมพิวเตอร์เล่นงาน ภัยใกล้ตัวที่คนออนไลน์ละเลย

|0 ความคิดเห็น

ไวรัสร้ายนับล้านพร้อมบุกคนออนไลน์ ประชิดข้างตัวแต่คนไม่สนใจ

ส่องเทรนด์สะพรึง! เรื่องราวของภัยคุกคามออนไลน์จากช่องทางต่างๆ ทั้งเว็บไซต์ อีเมล์ แอพพลิเคชั่น และการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ พร้อมโจมตีคุณได้ทุกเวลา แต่ทำไมคนไทยยังมองว่าไกลตัว..

หากพูดถึงเรื่องราวความปลอดภัยบนโลกอินเทอร์เน็ต เชื่อว่าคนไทยจำนวนไม่น้อยยังมองว่าเป็นเรื่องไกลแสนไกลตัว ไม่มีวันที่เรื่องทำนองถูกเจาะเข้าระบบ ขโมยข้อมูล ล้วงเงินจากบัญชี หรือจะมีใครมาปลอมข้อมูลสวมรอยเป็นฉันได้... คุณจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเรื่องเหล่านั้นไม่มีทางเกิดขึ้นกับคุณและคนในครอบครัว

ถ้าเราจะบอกว่ามีคนไทยและองค์กรไทย รวมถึงองค์กรต่างๆ ทั่วโลกเป็นจำนวนมากที่ต้องประสบปัญหาความไม่ปลอดภัย ถูกขโมยข้อมูลสำคัญ ตลอดจนถูกยักยอกเงิน คุณจะเชื่อหรือไม่? และนี่ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ที่อยู่ไกลตัวคุณอีกต่อไป...! "ไทยรัฐออนไลน์" มีโอกาสเดินทางไปถึงประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อเยี่ยมชมแลปที่ใช้ติดตามความเคลื่อนไหวบรรดาอาชญากรออนไลน์ พร้อมทั้งรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับเทรนด์การโจมตีบนอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันจาก "เทรนด์ ไมโคร" ผู้ให้บริการความปลอดภัยเครือข่ายชื่อดัง

เรื่องราวการโจมตีบนอินเทอร์เน็ตนั้นร้ายแรงและใกล้ตัวเข้ามาทุกขณะจริงไหม? หรือเราแค่หลอกคุณ? ลองไปติดตามด้วยตนเอง...

นางสาวไมร่า พิเลา ผู้อำนวยการ ทีม Core Technology ศูนย์เทรนด์แลป บริษัท เทรนด์ ไมโคร อธิบายว่า แนวโน้มภัยคุกคามในปัจจุบันนั้นขึ้นอยู่กับเป้าหมายของการโจมตีซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นการโจมตีแบบเจาะจงเพื่อมุ่งหวังผลในรูปแบบต่างๆ

จากความนิยมใช้งานมือถือที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก ทำให้มีผู้ตกเป็นเหยื่ออย่างต่อเนื่องเพราะไม่ใส่ใจในเรื่องความปลอดภัย โดยผู้ไม่หวังดีทั้งหลายจะเลือกช่องทางการส่งภัยคุกคามไปสู่ผู้บริโภคจากไลฟ์สไตล์การใช้งานเป็นหลัก เช่น ภัยคุกคามส่วนใหญ่ที่ตรวจพบในประเทศอินเดียก็จะมาจากเนื้อหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับบอลลีวูด ขณะที่ประเทศไทยนั้นจะมาจากบริการโมบายแบงกิ้งและการซื้อสินค้าออนไลน์ ส่วนภัยคุกคามในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ จะพบมากในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกและธนาคาร

รูปแบบการโจมตีของอาชญากรไซเบอร์ในปัจจุบันนั้นไม่ได้พิจารณาจากความสูญเสียของหน่วยงานหรือบริษัทใหญ่ แต่หมายถึงการเข้าถึงผู้บริโภคเพื่อสามารถสร้างความเสียหาย และสิ่งที่เป็นปัญหาสำคัญก็คือคนส่วนใหญ่ไม่คิดว่าตนเองจะตกเป็นเป้าหมาย คิดว่าการโจมตีเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับองค์กรที่มีเงินหรือข้อมูลสำคัญเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วทุกคนล้วนเป็นเป้าหมายของอาชญากร"

...หลังจากที่เทรนด์ ไมโคร ได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นบริษัทด้านซอฟต์แวร์ความปลอดภัย ฟิลิปปินส์... ถูกเลือกให้เป็นศูนย์กลางของเทรนด์แลป จากความเหมาะสมในหลายด้าน ทั้งความพร้อมของประชากร ที่ได้เปรียบทางภาษาอังกฤษ เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี และเดินทางสะดวก จึงทำให้สถานที่แห่งนี้กลายเป็นสำนักงานใหญ่ของเทรนด์แลปในที่สุด และมีพนักงานมากถึง 1,200 คน จากจำนวนพนักงานเทรนด์ ไมโครทั่วโลกประมาณ 5,000 คน

สำหรับการปฏิบัติงานของเทรนด์แลปแห่งนี้... มีหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งหากพบว่ามีการโจมตีเกิดขึ้น ก็จะมีขั้นตอนการตรวจสอบพร้อมทั้งแจ้งเตือนให้ลูกค้าได้ทราบรายละเอียดที่เกิดขึ้น อาทิ รูปแบบการโจมตี กลุ่มที่เสี่ยงจะตกเป็นเป้าหมาย โดยอัพเดทผ่านเว็บเทรนด์ ไมโคร เพื่อเป็นช่องทางให้ลูกค้าทั่วโลกได้รับรู้ถึงสถานการณ์ความเสี่ยงหรือภัยคุกคามที่เกิดขึ้น ส่วนจำนวนเทรนด์แลปทั่วโลกนั้นมีทั้งสิ้น 13 แห่ง เนื่องจากในอดีตนั้น...การแพร่กระจายไวรัสนิยมทำในรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามภูมิภาคต่างๆ แต่ปัจจุบันกลายเป็นรูปแบบเดียวกันไปทั่วโลก ดังนั้นการทำงานของเทรนด์แลปแต่ละแห่งในขณะนี้จึงเป็นการตรวจจับไวรัสที่หลากหลาย ขณะเดียวกันก็มีความพร้อมในการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ด้วย

ในอดีต... ไวรัสแพร่กระจายจากการก็อปปี้แบบไฟล์ต่อไฟล์ ต่อมาคือยุคของเวิร์ม ซึ่งใช้การแพร่กระจายผ่านเครือข่ายโดยไม่ต้องทำงานผ่านตัวเครื่องจึงถือเป็นยุคแรกของไวรัสเครือข่าย ต่อมาคือยุคที่เรียกว่าเว็บเทรดซึ่งเป็นการแพร่มัลแวร์ผ่านเว็บแบบพุ่งเป้าเพื่อหารายได้จากการโจมตี มีการอาศัยโซเชียลเน็ตเวิร์กเพื่อกระจายรูปแบบการโจมตีดังกล่าว จนมาสู่ยุคปัจจุบันที่เป็นการโจมตีแบบเฉพาะเจาะจง แล้วแนวโน้มภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในประเทศไทยล่ะ... คุณสงสัยไหมว่าเป็นอย่างไร?


ในปี 2014 เราพบการเข้าถึงเว็บไซต์ที่เป็นอันตรายกว่า 24 ล้านครั้งในประเทศไทย และมีมัลแวร์มากกว่า 9 ล้านรูปแบบ" นางสาวแม็กกี้ ครูซ หัวหน้าทีม Security Focus ศูนย์เทรนด์แลป บริษัท เทรนด์ ไมโคร เล่าและบอกอีกว่า ในช่วงปีที่ผ่านมายังแสดงถึงจำนวนการคลิกเข้าไปถึงเว็บลวงต่างๆ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ในช่วง 9 เดือนแรกของปียังพบว่ามีอุปกรณ์ประเภทโมบายล์ถูกโจมตีถึงกว่า 2.3 ล้านครั้งอีกด้วย

ระวังกลโกง โจรเรียกค่าไถ่!!!
นางสาวแม็กกี้ ยังบอกด้วยว่า สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วและกลายเป็นแนวโน้มที่น่าสนใจไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย คือ การโจมตีแบบเข้ารหัสข้อมูลและทำการเรียกค่าไถ่ หรือที่เรียกว่า Ransomware ซึ่งกรณีนี้เกิดขึ้นแล้วกับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อทั้งแบบองค์กรและผู้ใช้ทั่วไป จากช่องทางอันตรายอย่างอีเมล์และเว็บไซต์ โดยผู้ที่ถูกไวรัสประเภทดังกล่าวทางคอมพิวเตอร์... จะปรากฎหน้าจอแจ้งว่าข้อมูลภายในเครื่องของคุณถูกล็อค คุณจำเป็นต้องจ่ายค่าไถ่ตามที่ถูกเรียกร้องเพื่อแลกกับข้อมูลทั้งหมดภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งหากคุณไม่ปฏิบัติตามข้อมูลดังกล่าวจะถูกลบและไม่สามารถกู้คืนได้อีก ซึ่งที่ผ่านมามีทั้งผู้ที่ยอมจ่ายเงินตามจำนวนค่าไถ่หลักแสนบาทเพื่อแลกกับข้อมูลสำคัญ ขณะที่บางรายไม่ยอมจ่ายค่าไถ่และต้องสูญเสียข้อมูลไป

วายร้ายตัวท็อป!!!
ส่วนไวรัสที่พบได้บ่อยที่สุดในช่วงปีที่ผ่านมามีชื่อว่า... Downad , Gamarue , Sality ซึ่งส่วนใหญ่มาจากช่องโหว่บนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เอ็กซ์พี เนื่องจากผู้ใช้จำนวนไม่น้อยยังคงใช้ระบบปฏิบัติการเดิม ไม่อัพเกรดเป็นระบบใหม่ หรือใช้งานซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ จึงทำให้มีช่องโหว่ในการใช้งานหรือเกิดรูรั่วให้ไวรัสเข้าถึงได้

แอนดรอยด์ เป้านิ่งโจร!!!
จากความนิยมในอุปกรณ์ระบบแอนดรอยด์ ส่งผลให้มีจำนวนเครื่องและผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างมากนั้น ส่งผลให้อาชญากรออนไลน์ใช้ช่องโหว่จากการเป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิดนี้เป็นโอกาสในการโจมตี จากทั้งการสร้างแอพพลิเคชั่นปลอมและเว็บไซต์ลวงต่างๆ เพื่อกระจายไวรัส โดยมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2015 อาจมีจำนวนรูปแบบไวรัสบนแอนดรอยด์มากถึง 8 ล้านรูปแบบ หรือเพิ่มขึ้นจากเดิมราวเท่าตัว ส่วนระบบปฏิบัติการณ์แบบปิดอย่างไอโอเอส ซึ่งในอดีตมีความเชื่อว่าสามารถป้องกันภัยคุกคามออนไลน์นี้ได้ ก็เริ่มถูกโจมตีบ้างแล้วในสหรัฐอเมริกา

เทรนด์โจรปี 2015
เนื่องจากสมาร์ทโฟนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน จึงมีการคาดการณ์ว่าในปีนี้เราจะได้เห็นรูปแบบการโจมตีผ่านแอพพลิเคชั่นมากกว่าเว็บไซต์ ขณะเดียวกันบรรดาแฮกเกอร์ก็จะยิ่งพัฒนารูปแบบกลลวงต่างๆ เพื่อเข้าถึงระบบซอฟต์แวร์แบบเปิดมากขึ้น โดยใช้รูปแบบที่คล้ายกันในการเข้าถึงเนื่องจากระบบในลักษณะดังกล่าวจะมีผู้นิยมใช้งานเป็นจำนวนมาก

วิธีป้องกันภัยโจรออนไลน์...
เบื้องต้นคุณควรเริ่มต้นจากการใช้งาน คือ เลี่ยงการคลิกลิงก์ที่น่าสงสัย เช่น ไม่รู้ที่มาที่แน่ชัด มีภาพหรือหัวข้อส่อไปในทางลามก อนาจาร หรือมีความรุนแรง หากใช้งานอีเมล์ก็ควรตรวจสอบชื่อผู้ส่ง รวมถึงเนื้อหาและไฟล์โดยละเอียด ขณะเดียวกันก็ควรอัพเดทซอฟต์แวร์ให้ทันสมัยอยู่ตลอด และทำการแบ็ดอัพข้อมูลสำคัญเอาไว้ด้วย

เมื่อคุณรู้ว่ามีความเสี่ยงเปิดประตูเชิญชวนให้ตกหลุมพราง อยู่รอบตัว... ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณแล้ว ว่าจะยอมรับความเสี่ยงเหล่านั้นเข้ามาในชีวิตหรือไม่...?


ที่มา: ไทยรัฐ

เสริมรั้วให้ปลอดภัย! Password Alert แจ้งเตือนรหัสผ่านบัญชีกูเกิล

|0 ความคิดเห็น
เสริมรั้วให้ปลอดภัย! Password Alert แจ้งเตือนรหัสผ่านบัญชีกูเกิล 


กูเกิล พัฒนาระบบที่เรียกว่า "พาสเวิร์ด อเลิร์ท" เพื่อช่วยปกป้องรหัสผ่านสำคัญแก่ผู้ใช้บัญชีและแอพกูเกิล จากกลลวงโจรออนไลน์ที่ใช้วิธีฟิชชิ่งและเว็บปลอม

เพราะโลกออนไลน์นั้นเต็มไปด้วยความเสี่ยง จากผู้ไม่หวังดี ซึ่งจ้องจะเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวและทรัพย์สินของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่สร้างช่องโหว่เอาไว้... และนั่นกลายเป็นอีกหนึ่งที่มาของ Google (กูเกิล) ในการพัฒนาบริการในชื่อ Password Alert (พาสเวิร์ด อเลิร์ท)

ดรูว์ ฮินทซ์ วิศวกรด้านความปลอดภัย เเละ จัสติน คอสลิน Google Ideas กล่าวถึงบริการดังกล่าว ผ่าน Official Google Thailand Blog ว่า ฟิชชิ่ง หรือบรรดาเว็บไซต์ของผู้ไม่หวังดีที่จะหวังจะขโมยรหัสผ่านของคุณ คนร้ายจะขโมยรหัสผ่านและเข้าถึงบัญชี Google ของคุณได้โดยที่คุณไม่รู้ตัว ซึ่งถือเป็นกับดักที่พบได้เสมอๆ และเป็นอันตรายอย่างมาก โดยพบว่าการโจมตีแบบฟิชชิ่งประสบความสำเร็จสูงถึง 45% เกือบ 2% ของข้อความที่ถูกส่งไปยัง Gmail จะออกแบบมาเพื่อหลอกให้ผู้ใช้งานใส่รหัสผ่านของตนลงไป และนอกจากนั้น ยังมีการส่งอีเมล์ฟิชชิ่งออกไปหลอกล่อเหยื่อนับล้านฉบับทุกๆ วัน ในหลากหลายบริการ

เพื่อให้บัญชีของคุณปลอดภัย เราได้เปิดตัวส่วนขยายใน Chrome ที่เป็นซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สและไม่มีค่าใช้จ่าย Password Alert จะช่วยแจ้งเตือนรหัสผ่าน เพื่อช่วยปกป้องบัญชี Google และบัญชี Google Apps สำหรับการทำงาน แค่ติดตั้งรหัสผ่านเพียงครั้งเดียว Password Alert จะแสดงคำเตือนกรณีที่คุณพิมพ์รหัสผ่านบัญชี Google ลงในหน้าที่ไม่ใช่หน้าล็อกอินของ Google เอง ซึ่งจะช่วยป้องกันคุณจากการโจมตีของฟิชชิ่ง ทั้งนี้ คุณควรใช้รหัสผ่านที่ไม่เหมือนกันในไซต์อื่นๆ และนี่เป็นการรักษาความปลอดภัยอย่างดีที่สุดให้กับแต่ละบัญชีของคุณ


เมื่อคุณติดตั้งและเริ่มต้นใช้งาน Password Alert แล้ว Chrome จะจดจำแนวทางการจัดเรียงรหัสผ่านบัญชี Google ของคุณ โดยระบบจะจดจำข้อมูลนี้ เพื่อรักษาความปลอดภัยของบัญชี และไม่เผยแพร่ข้อมูลนี้ไปที่อื่น ต่อไปหากคุณใส่รหัสผ่านในหน้าเพจ ที่ไม่ใช่ของ Google ฟีเจอร์ Password Alert จะแจ้งเตือนดังตัวอย่างด้านล่าง เพื่อบอกว่าคุณถึงความเสี่ยงที่จะถูกล่อลวง ดังนั้น เราแนะนำให้คุณปรับแก้ไขรหัสผ่านเพื่อป้องกันบัญชีของคุณเอง

ลูกค้า Google สำหรับการทำงาน Google Apps และ Drive for Work สามารถใช้บริการ Password Alert ได้แล้ว โดยผู้ดูแลระบบสามารถติดตั้ง Password Alert ของทุกคน ผ่านโดเมนที่พวกเขาดูแลอยู่ และจะได้รับการแจ้งเตือนหาก Password Alert ตรวจพบปัญหา สิ่งนี้จะช่วยให้ตรวจพบผู้โจมตีที่พยายามเจาะเข้าใช้งานบัญชีของพนักงานและช่วยลดการใช้รหัสผ่านซ้ำๆ

เริ่มใช้งาน Password Alert คลิกเข้าไปที่ the Chrome Web Store หรือ the FA

บทความ IT ที่เกี่ยวข้อง